การบรรยาย \" มหัศจรรย์ไม้ไผ่ ตอนไม้ไผ่กับงานสถาปัตยกรรม \" |
วันที่ : 19 กุมภาพันธ์ 2553 |
เวลา : 14.00 - 16.00 น. |
สถานที่ ห้องออดิทอเรียม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) |
|
แต่เดิมคนไทยเรามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและใกล้ชิดกับธรรมชาติ
นำพืชพันธุ์ธรรมชาติที่มีอย่างอุดมในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ เป็นเครื่องไม้ใช้สอยตลอดจนสิ่งปลูกสร้าง
"ไผ่" เป็นพืชประเภทหญ้าที่มีมากในบริเวณเอเชีย
รวมทั้งประเทศไทย
และเป็นพืช อีกชนิดที่คนไทยนิยมนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทั้งในด้านความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย
ไผ่เป็นพืชที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก
และสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก หน่อ ใบ กิ่ง และลำต้น
ซึ่งนอกจากจะสามารถนำไป ประกอบอาหารและแปรรูปเป็นเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ
ในชีวิตประจำวันได้แล้ว ยังนำมาใช้สร้างบ้านเรือนได้
เนื่องจากไผ่มีเหง้า ใต้ดินที่แผ่ขยายได้กว้างไกล ช่วยยึดหน้าดิน
ประกอบกับมีคุณสมบัติลู่ตามลม ไม่หักโค่นเหมือนไม้ชนิดอื่น
ชาวนาจึงนิยมปลูกไผ่ไว้ แทนรั้วบ้านเพื่อป้องกันลมพายุ ปัจจุบัน
ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก
ด้วยคุณสมบัติวงจรชีวิตที่เติบโตอย่างรวดเร็ว นำมาใช้งานได้เร็ว
และเป็นวัสดุที่ยั่งยืน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
นำเสนอเรื่องราวของ "ไม้ไผ่"
สายพันธุ์พืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์และโลก
กับการบรรยายในหัวข้อ "มหัศจรรย์ไม้ไผ่ ตอน
ไม้ไผ่กับงานสถาปัตยกรรม" โดย ดร.สุปรีดี ฤทธิรงค์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อตอบคำถามเรื่องการนำไม้ไผ่มาใช้ในงานสถาปัตยกรรม
การเปลี่ยนสถานะของไม้ไผ่จาก วัสดุพื้นถิ่นสู่วัสดุโครงสร้างสถาปัตยกรรม
รวมถึงการศึกษาคุณค่าของไม้ไผ่ด้านวัสดุ
วิธีการคัดเลือกไม้ไผ่เพื่อใช้ในงานปลูกสร้าง ทั้งในด้านโครงสร้าง
การออกแบบ และการดูแลรักษา
การบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ
"มหัศจรรย์ไม้ไผ่"
โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อยอดและกระตุ้นความคิดคนไทยให้สามารถ ประยุกต์ใช้
"ไม้ไผ่" ในแขนงวิชาชีพและอุตสาหกรรมต่างๆ
ในประเทศไทยอย่างสร้างสรรค์
จนก่อเกิดเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้สำคัญ ให้กับประเทศ
|